หน่วยงานกำกับโบรกเกอร์ Forex มีหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละประเทศก็มีข้อกำหนดแตกต่างกัน การทำความรู้จักกับโบรกเกอร์ Forex จึงมีความจำเป็นที่ต้องรู้จักไว้ เราได้ทำการ list รายชื่อ หน่วยงานกำกับที่มีชื่อเสียงระดับโลกไว้ที่นี่
CySEC – Cyprus Securities and Exchange Commission
- CySEC คือ หน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex ของประเทศไซปรัส
- CySEC มีกรอบการกำกับดูแลตามหลักเกณฑ์ของสหภาพยุโรป และไปตามมาตรฐาน EU และ MiFID
- CySEC ทำหน้าที่ตรวจสอบใบสมัคร การให้การอนุญาติ ยกเลิกและเพิกถอนใบอนุญาต และตรวจสอบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์ของโบรกเกอร์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์สากล เพื่อการควบคุมและป้องกันการทุจริตทางการเงิน
- โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ CySEC มีการรับประกันชดเชยเงินสูงสุด 20,000 ยูโร ให้ลูกค้าในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย
Financial Conduct Authority (FCA)
- FCA คือ หน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex สหราชอาณาจักร จัดตั้งโดยรัฐบาลอังกฤษ
- FCA เป็นองค์กรสาธารณะที่ไม่แสวงผลกำไร และไม่ใช้เงินของผู้เสียภาษีอากรสำหรับการดำเนินงาน อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area) และ MiFID
- FCA ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลบริษัท, โบรกเกอร์ Forex และหน่วยงานทางการเงิน เพื่อความโปร่งใส ป้องกันอาชญากรรม ทำงานร่วมกับ Bank of England และ Prudential Regulatory Authority
- FCA ควบคุมให้มีการรับประกัน เงินชดเชยของลูกค้าในกรณีโบรกเกอร์ล้มละลาย จำนวน 50,000 ปอนด์
Australian Securities and Investments Commission (ASIC)
- ASIC คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุน ประเทศออสเตรเลีย เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐบาลออสเตรเลีย
- ASIC เปลี่ยนชื่อมาจาก Australian Securities Commission (ASC)
- ASIC ทำหน้าที่กำกับดูแล บังคับใช้กฎหมายและควบคุมกฎหมายจดทะเบียน รวมถึงกฎหมายบริการด้านการเงิน เพื่อรับประกันความปลอดภัยสำหรับนักลงทุน
- ASIC จัดตั้งในปีค.ศ. 1989 จึงถือเป็นหน่วยงานที่เก่าแก่ที่สุดในตลาด อำนาจและขอบเขตของ ASIC ถูกกำหนดโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และการลงทุน ประเทศออสเตรเลีย ค.ศ.2001
The Seychelles Financial Services Authority (FSA)
- FSA คือ หน่วยงานบริการด้านการเงินของ Seychelles เป็นหน่วยงานกำกับดูแลอิสระ
- FSA จัดตั้งภายใต้พระราชบัญญัติบริการทางการเงินและการตลาดปี 2013
- FSA รับผิดชอบด้านบริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารใน Seychelles
- FSA มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตและควบคุมใบอนุญาต บังคับใช้ข้อกำหนดด้านกฎระเบียบและการกำกับดูแล การตรวจสอบและกำกับดูแล การดำเนินธุรกิจในภาคบริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารในSeychelles
The Financial Services Commission (FSC)
- FSC คือ คณะกรรมการบริการด้านการเงิน Mauritius
- FSC เป็นหน่วยงานกำกับดูแลแบบบูรณาการสำหรับภาคบริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารและธุรกิจระดับโลก
- FSC จัดตั้งขึ้นในปี 2001 ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตในภาคการเงิน
- FSC อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติบริการทางการเงินปี 2007 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ปี 2005 พระราชบัญญัติประกันภัยปี 2005 และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญส่วนบุคคลปี 2012
Financial Sector Conduct Authority (FSCA)
- FSCA คือ หน่วยงานกำกับดูแลด้านการตลาดของสถาบันการเงินที่ให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการทางการเงิน สถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตของกฎหมายภาคการเงิน รวมถึงธนาคาร บริษัท ประกันภัย กองทุนเกษียณอายุ
- FSCA ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานด้านการกำกับดูแลการดำเนินงานของตลาด เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของตลาดการเงิน
- FSCA ส่งเสริมการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างยุติธรรม เพื่อปกป้องลูกค้าทางการเงิน
- FSCA ส่งเสริมการให้การศึกษาทางการเงินแก่ลูกค้า เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเงิน
International Financial Services Commission (IFSC)
- IFSC คือ หน่วยงานกำกับดูแลใน Belize
- IFSC ก่อตั้งปี 1999 โดยการออกพระราชบัญญัติคณะกรรมการบริการด้านการเงินระหว่างประเทศ
- IFSC เป็นผู้รับผิดชอบในการออกใบอนุญาต ให้กับผู้ให้บริการทางด้านการเงินนานาชาติ ซึ่งรวมถึงโบรกเกอร์, บริษัท, นายหน้าและผู้ให้บริการทางการเงินรายอื่น ๆ
- IFSC ทำหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ให้บริการด้านการเงินที่จดทะเบียน เพื่อส่งเสริมให้ Belize เป็นศูนย์บริการทางการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงควบคุมบริการทางการเงินระหว่างประเทศ
Securities Commission of The Bahamas (SCB)
- SCB คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของ Bahamas
- SCB เป็นหน่วยงานด้านกฎหมายที่จัดตั้งขึ้นในปี 1995 ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ ซึ่งถูกแทนที่ด้วยกฎหมายใหม่ โดยคำสั่งของคณะกรรมาธิการได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ปี 2011
- SCB มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารงานตามพระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ปี 2011 (SIA) และพระราชบัญญัติกองทุนรวมการลงทุนปี 2003 (IFA)
- SCB ทำหน้าที่กำกับดูแลและควบคุมกิจกรรมของกองทุนรวมที่ลงทุนในหลักทรัพย์และตลาดทุน รวมถึงการบริหารพระราชบัญญัติผู้ให้บริการด้านการเงินและองค์กรปี 2000